วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (https://www.l3nr.org/posts/386486 )
ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  ไว้ว่า
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้

ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  ไว้ว่า
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 36 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของ สมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
การ เรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้ลงมือศึกษา ค้นคว้า ปฏิบัติ สัมผัส สืบค้น จนได้รับคำตอบด้วยตนเอง สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
คนเรานั้นเกิดการเรียนรู้ได้จากหลากหลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเกิดจากการเลียนแบบ การได้ลงมือทก การแก้ปญหา การอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ยกตัวอย่างเช่นครอบครัวที่ต้องไปอยู่ต่างประเทศโดยที่ลูกๆไม่สามารถพูดภาษา พื้นเมืองของประเทศนั้นได้ หรือ ภาษาอังกฤษได้ เมื่อเด็ก ไปอยู่ได้ซักพัก เด็กคนนี้นสามารถที่จะพูดภาษาพื้นเมืองได้ โดยที่พ่อ หรือแม่ยังพูดไม่ได้ เพราะเด็กเกิดการเรียนรู้ จากสิ่งแวดล้อมที่เค้าไปอยู่ จากประสบการณ์ตรง จากการปฏิบัติ ซึ่ง สิ่งเหล่านนี้ เค้าจะจำได้ เข้าใจ ติดตัวเข้าไปตลอด
นอกจากนั้นพรสวรรค์ของผู้เรียนมีผลต่อการเรียนรู้เช่นเดียวกัน จะเห็นว่าเด็กในห้องเดียวกันเรียนแกะสลักผลไม้ แต่ละคนจะได้ผลงานที่แตกต่างกัน บางคนสวย ปราณีต ละเอียด แต่บางคนไม่เป็นรูปร่าง ทำให้ความสามารถในการเรียนของเค้าด้อย ไม่สนใจที่จะเรียนรู้ด้วย

วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล ( http://www.pochanukul.com/?p=156 )
ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  ไว้ว่า
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  มีหลักการ ดังนี้
1. การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย มีสมาชิก 3-6 คน สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถที่แตกต่างกัน สมาชิกช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม
2. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบด้วย การพึ่งพาและเกื้อกูลกันการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด, ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน, การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย, และ การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มเพื่อให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงาน

การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย กำหนดจุดมุ่งหมาย ขนาดกลุ่ม องค์ประกอบของกลุ่ม บทบาทของสมาชิก สถานที่ และงานที่กำหนดให้ผู้เรียนทำ
2. ด้านการสอน ประกอบด้วย อธิบายและชี้แจงการทำงานของกลุ่ม เกณฑ์การประเมิน การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน การช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่ม การตรวจสอบความรับผิดชอบและหน้าที่ของแต่ละคน และพฤติกรรมที่ความหวัง
3. ด้านการควบคุมกำกับและการช่วยเหลือกลุ่ม ประกอบด้วย  ดูแลให้สมาชิกกลุ่มปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด สังเกตการณ์การทำงานร่วมกันของกลุ่ม ให้ข้อมูลป้อนกลับและการเสริมแรง ช่วยเหลือกลุ่มตามความเหมาะสม และสรุปการเรียนรู้
4. ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ใช้วิธีการที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และวิเคราะห์กระบวนการทำงานและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

สรุปทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) 
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  มีหลักการ ดังนี้
1. การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย มีสมาชิก 3-6 คน สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถที่แตกต่างกัน สมาชิกช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม
2. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบด้วย การพึ่งพาและเกื้อกูลกันการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด, ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน, การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย, และ การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่มเพื่อให้กลุ่มเกิดการเรียนรู้และปรับปรุงการทำงาน

การประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย กำหนดจุดมุ่งหมาย ขนาดกลุ่ม องค์ประกอบของกลุ่ม บทบาทของสมาชิก สถานที่ และงานที่กำหนดให้ผู้เรียนทำ
2. ด้านการสอน ประกอบด้วย อธิบายและชี้แจงการทำงานของกลุ่ม เกณฑ์การประเมิน การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน การช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่ม การตรวจสอบความรับผิดชอบและหน้าที่ของแต่ละคน และพฤติกรรมที่ความหวัง
3. ด้านการควบคุมกำกับและการช่วยเหลือกลุ่ม ประกอบด้วย  ดูแลให้สมาชิกกลุ่มปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด สังเกตการณ์การทำงานร่วมกันของกลุ่ม ให้ข้อมูลป้อนกลับและการเสริมแรง ช่วยเหลือกลุ่มตามความเหมาะสม และสรุปการเรียนรู้
4. ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ใช้วิธีการที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และวิเคราะห์กระบวนการทำงานและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

อ้างอิง
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.[onlline]( https://www.l3nr.org/posts/386486 ). ทฤษฎีการเรียนรู้.
เข้าถึงเมื่อ  7 กันยายน 2558.
ทฤษฎีการเรียนรู้.เข้าถึงเมื่อ 8 กันยายน 2558.
วุทธิศักดิ์ โภชนุกูล.[online]( http://www.pochanukul.com/?p=156 ).ทฤษฎีการเรียนรู้.
          เข้าถึงเมื่อ 8 กันยายน 2558.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น