วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ ( https://www.l3nr.org/posts/386486 )
ได้กล่าวถึง ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ไว้ว่า
ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย
-   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)
-   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
2.  เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา (http://www.babybestbuy.in.th/shop/theory_of_multiple_intelligences )
ได้กล่าวถึง ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ไว้ว่า
การจะบอกว่าเด็กคนหนึ่งฉลาด หรือมีความสามารถมากน้อยเพียงใด ถ้าเรานำระดับสติปัญญาหรือไอคิว ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาเป็นมาตรวัด ก็อาจได้ผลเพียงเสี้ยวเดียว เพราะว่าวัดได้เพียงเรื่องของภาษา ตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ และมิติสัมพันธ์เพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีความสามารถอีกหลายด้านที่แบบทดสอบในปัจจุบันไม่สามารถวัดได้ครอบคลุมถึง เช่น เรื่องของความสามารถทางดนตรี ความสามารถทางกีฬา และความสามารถทางศิลปะ เป็นต้น
ศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เป็นผู้หนึ่งที่พยายามอธิบายให้เห็นถึงความสามารถที่หลากหลาย โดยคิดเป็น ทฤษฎีพหุปัญญา ” (Theory of Multiple Intelligences) เสนอแนวคิดว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป
ในปี พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง
2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)
คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)
คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์ สายวิทย์ ก็มักเป็น นักประดิษฐ์ วิศวกร ส่วนสายศิลป์ ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น จิตรกร วาดรูป ระบายสี เขียนการ์ตูน นักปั้น นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก เป็นต้น
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง
6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ
7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใดมีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิจัย
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักสำรวจธรรมชาติ
ทฤษฎีนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นความสำคัญใน 3 เรื่องหลัก ดังนี้
1. แต่ละคน ควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ปัญญาด้านที่ถนัด เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้
2. ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้สอดรับกับปัญญาที่มีอยู่หลายด้าน
3. ในการประเมินการเรียนรู้ ควรวัดจากเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถครอบคลุมปัญญาในแต่ละด้าน
ทฤษฎีพหุปัญญา ของการ์ดเนอร์ ชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายทางปัญญาของมนุษย์ ซึ่งมีหลายด้าน หลายมุม แต่ละด้านก็มีความอิสระในการพัฒนาตัวของมันเองให้เจริญงอกงาม ในขณะเดียวกันก็มีการบูรณาการเข้าด้วยกัน เติมเต็มซึ่งกันและกัน แสดงออกเป็นเอกลักษณ์ทางปัญญาของมนุษย์แต่ละคนคนหนึ่งอาจเก่งเพียงด้านเดียว หรือเก่งหลายด้าน หรืออาจไม่เก่งเลยสักด้าน แต่ที่ชัดเจน คือ แต่ละคนมักมีปัญญาด้านใดด้านหนึ่งโดดเด่นกว่าเสมอ ไม่มีใครที่มีปัญญาทุกด้านเท่ากันหมด หรือไม่มีเลยสักด้านเดียว นับเป็นทฤษฎีที่ช่วยจุดประกายความหวัง เปิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาด้านสติปัญญาของมนุษย์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในกลุ่มเด็กปกติ เด็กที่มีความบกพร่อง และเด็กที่มีความสามารถพิเศษ

ได้กล่าวถึง ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ไว้ว่า
ศาสตราจารย์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner**) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด เป็นผู้เสนอ "ทฤษฎีพหุปัญญา" (The Theory of Multiple Intelligences*) ซึ่งมีแนวคิดว่าความฉลาดของมนุษย์ แบ่งได้ 8 ด้าน ประกอบด้วยความฉลาดด้านภาษา (Linguistic) ความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial)ความฉลาดด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ (Logical-Mathematical) ความฉลาดด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Intrapersonal)ความฉลาดด้านดนตรี (Musical)ความฉลาดด้านเข้าใจตนเอง (Interpersonal)ความฉลาดด้านร่างกาย (Bodily –Kinesthetic) ความฉลาดด้านรู้จักธรรมชาติ (Naturalistic) ซึ่งแต่ละด้านต่างก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน  เด็กทุกคนคือส่วนผสมของความฉลาดทั้ง 8 ด้าน
การยึดถือตามความเชื่อเดิมๆ ที่นิยามว่า "เด็กเก่ง" คือ เด็กที่มีความฉลาดเพียงบางด้าน เช่น ด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษา นั้นอาจไม่เพียงพอตามหลักทฤษฎีพหุปัญญา (8 Multiple Intelligences) หากแต่แง่คิดที่แฝงในทฤษฎีนี้เชื่อว่า เด็กแต่ละคนมีความฉลาดแต่ละด้านที่แตกต่างกันไป และมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะคน ดังนั้น คุณพ่อ คุณแม่ และคุณครูจึงควรพยายามค้นหาจุดเด่นของเด็กว่ามีความฉลาดทางด้านใดบ้าง และมีรูปแบบอย่างไร เพื่อทำความเข้าใจและสามารถช่วยส่งเสริมให้เขามีพัฒนาการตามแบบฉบับของเขาเองได้อย่างเหมาะสม
ความฉลาด 8 ด้านตามทฤษฎีพหุปัญญา (8 Multiple Intelligences)
1. ความฉลาดด้านภาษา (Linguistic)
เด็กที่มีความถนัดด้านภาษาสามารถเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว พวกเขาสนุกกับการต่อคำศัพท์และเกมอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน ในขณะเดียวกันก็ชื่นชอบโคลงกลอน เพลง และนิทาน เด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นนักพูดและนักเล่าเรื่องที่เก่งจุดเด่นของเด็กที่มีความฉลาดด้านภาษา คือ จำและคิดเป็นภาษาหรือคำศัพท์ อธิบายเรื่องที่เกี่ยวกับตนเองได้ดี
2. ความฉลาดด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ (Logical-Mathematical)
ความฉลาดทางด้านนี้เกี่ยวกับความสามารถในการนำตรรกะมาแก้ไขปัญหาจำแนกสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระเบียบแบบแผนได้ นอกจากนั้น ยังชื่นชอบการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ และเรียนรู้ปรากฎการณ์ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ อีกด้วย เด็กที่ฉลาดทางด้านนี้จะชอบเล่นเกมส์ที่ต้องแก้ปัญหาทุกชนิด และสามารถเชื่อมโยงเหตุและผลของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างไม่ยากเย็นนักจุดเด่นของเด็กที่มีความฉลาดด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ คือ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลได้ดี เมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ซับซ้อน เด็กสามารถแยกแยะ จัดลำดับและเข้าใจรูปแบบของสิ่งที่เกิดขึ้น
3. ความฉลาดด้านดนตรี (Musical)
เด็กที่ฉลาดด้านดนตรีจะมีความว่องไวต่อเสียง และสามารถเชื่อมโยงระหว่างเพลงและเครื่องดนตรีได้ พวกเขามักจะชอบร้องเพลงและใช้เทคนิคในการเรียนรู้ผ่านบทเพลงและจังหวะต่างๆ ได้ จุดเด่นของเด็กที่มีความฉลาดด้านดนตรี คือ พวกเขามักหลงเสน่ห์ดนตรีและเสียงเพลงทำให้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นคำคล้องจองหรือเป็นแบบแผน ในขณะที่คนอื่นทำไม่ได้พวกเขาซึมซับและจดจำข้อมูลเป็นแบบแผนและบทกลอนหรือคำคล้องจอง
4. ความฉลาดด้านร่างกาย (Bodily-Kinesthetic)
ความฉลาดด้านนี้มีความหมายตรงกับชื่อ คือ เป็นเด็กที่แข็งแรง สามารถทำกิจกรรมและเคลื่อนไหวได้อย่างแคล่วคล่องว่องไว ชอบแสดงออก และสนุกกับกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปะและงานฝีมือ จุดเด่นของเด็กที่มีความฉลาดด้านร่างกาย คือ พวกเขาตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางกายภาพได้ดีพวกเขาใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กได้อย่างยอดเยี่ยมพวกเขามักเคลื่อนไหวตลอดเวลาที่เรียนรู้ (ทำให้อาจดูเหมือนนั่งนิ่งๆ ไม่ได้)
5. ความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial)
เด็กที่มีความฉลาดด้านนี้จะคิดและสื่อสารด้วยภาพ พวกเขาชอบเล่นเกมส์ต่อรูปภาพ เช่น จิ๊กซอว์ เปี่ยมล้นด้วยจินตนาการ และชื่นชอบงานศิลปะ นอกจากนี้ พวกเขายังจดจำทิศทางได้ดี และอ่านแผนที่เก่ง จุดเด่นของเด็กที่มีความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ คือ เขาสามารถจัดการสิ่งต่างๆ ได้ในหัว และวิเคราะห์ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเขาสามารถจินตนาการและสร้างโลกใหม่ขึ้นมาในความคิด (หรือฝันกลางวัน)เขาสามารถจัดการและเล่นสิ่งของต่างๆ ได้ดี และมีทักษะในการใช้มือที่ดี
6. ความฉลาดด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal)
เด็กที่ฉลาดด้านนี้จะมีมนุษยสัมพันธ์ดีเยี่ยม พวกเขาจึงเป็นคนที่มีเพื่อนมาก ชอบทำงานร่วมกับคนอื่น และมีความสามารถในการเป็นผู้นำสูง จุดเด่นของเด็กที่มีความฉลาดด้านมนุษยสัมพันธ์ คือ เขาชอบเล่นเป็นกลุ่มเขาสามารถนำผู้อื่นได้ดีเขาสนใจความรู้สึกและมักเห็นอกเห็นใจคนอื่น
7. ความฉลาดด้านเข้าใจตนเอง (Intrapersonal)
ในทางตรงกันข้าม เด็กที่เข้าใจตนเองชอบทำงานเพียงลำพัง พวกเขามักเป็นตัวของตัวเอง และแม้ว่าจะไม่ค่อยเข้าสังคม แต่พวกเขาก็เชื่อมั่นในความสามารถของตนและมีแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ จุดเด่นของเด็กที่มีความฉลาดด้านเข้าใจตนเอง คือ พวกเขาเก่งในการทำงานให้ไปถึงเป้าหมายชัดเจนว่าตนเองชอบหรือไม่ชอบอะไรรักความยุติธรรม
8. ความฉลาดด้านรู้จักธรรมชาติ (Naturalistic)
เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กที่ชอบผจญภัยในโลกกว้าง (นอกบ้าน) มาตั้งแต่เด็ก จึงมักเห็นเขาชอบเตร็ดเตร่เพื่อสำรวจสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ พวกเขายังสนใจในเรื่องของต้นไม้และสัตว์ต่างๆ อย่างมาก จุดเด่นของเด็กที่มีความฉลาดด้านรู้จักธรรมชาติ คือ สังเกตเห็นรูปแบบและคุณลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตต่างๆชอบจัดระบบสิ่งของที่สะสมไว้มีความสามารถในการแยกแยะระหว่างสิ่งของในหมวดเดียวกันและสังเกตเห็นความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ

สรุป ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)
ในปี พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ
2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)
คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)
คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการเคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง
6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี
7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใดมีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต 
ทฤษฎีนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นความสำคัญใน 3 เรื่องหลัก ดังนี้
1. แต่ละคน ควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ปัญญาด้านที่ถนัด เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้
2. ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้สอดรับกับปัญญาที่มีอยู่หลายด้าน
3. ในการประเมินการเรียนรู้ ควรวัดจากเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถครอบคลุมปัญญาในแต่ละด้าน

อ้างอิง
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.[onlline]. ( https://www.l3nr.org/posts/386486 ) . ทฤษฎีการเรียนรู้.
เข้าถึงเมื่อ  7 กันยายน 2558.
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา.[online].(http://www.babybestbuy.in.th/shop/theory_of_multiple_intelligences ).
ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences).เข้าถึงเมื่อ 8 กันยายน 2558.
(https://www.facebook.com/notes/395464107186886/) . ทฤษฎีพหุปัญญา.เข้าถึงเมื่อ 8 กันยายน 2558.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น