วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)

ได้กล่าวถึง ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)  ไว้ว่า
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส

ทิศนา แขมมณี (2554:45-48)
ได้กล่าวถึง ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)  ไว้ว่า
การรับรู้และการเชื่อมโยงความคิดเป็น  ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมและหลักการ   จัดการศึกษา/การสอนช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2546:59)
ได้กล่าวถึง ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)  ไว้ว่า
ทฤษฎีการเชื่องโยงมีหลักเบื้องต้นว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่องโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง โดยแสดงในรูปแบบต่างๆ จนกว่าจะเป็นที่พอใจที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งเรียกว่า การลองถูกลองผิด ทฤษฎีการเชื่อมโยงจะเน้นเรื่องการฝึกหัดซ้ำและการให้การเสริมแรง ผู้เรียนจะต้องได้รับความช่วยเหลือในด้านการมองเห็นความแตกต่าง

สรุป
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception) มีหลักเบื้องต้นว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่องโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง โดยแสดงในรูปแบบต่างๆ จนกว่าจะเป็นที่พอใจที่เหมาะสมที่สุดเรียกว่า การลองถูกลองผิด การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้ เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี

เอกสารอ้างอิง
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=2874.0;wap2. ทฤษฎีการเรียนรู้.
สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2558.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ทิศณา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.

กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทฤษฎีของกลุุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)

ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (https://www.l3nr.org/posts/386486)
ได้กล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment) ว่า
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน

ได้กล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment) ว่า
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment) นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือรุสโซ (Rousseau) ฟรอเบล (Froebel) และเพสตาลอสซี (Pestalozzi) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้

ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1. มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีและการกระทำใด ๆ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (good - active)
2. ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปตามธรรมชาติ
3. รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด้กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
4. รุสโซเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญเด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ คือการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือหรือจากคำพูดบรรยาย
5. เพสตาลอสซีมีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลส คนสังคม มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคม คล้อยตามสังคม และคนธรรม ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะ ดังกล่าว
6. เพสตาลอสซีเชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
7. ฟรอเบลเชื่อว่าควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ขวบ โดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
8. ฟรอเบลเชื่อว่าการเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก

หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กมีสภาวะที่ต่างไปจากวัยอื่น ๆ
2. การจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ให้เสรีภาพแก่เด็กที่จะเรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างอิสระ
3. ลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก คือการจัดให้เด็กได้เรียนรู้จากธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ ได้แก่
3.1 ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
3.2 ให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
3.3 ให้เด็กได้เรียนจากของจริงและประสบการณ์จริง
3.4 ให้เด็กได้เรียนรู้จากผลของการกระทำของตน
4. การจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เด็กจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

ได้กล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติไว้ว่า
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน

สรุป
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment) คือ แหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก และการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี

เอกสารอ้างอิง
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. [online] https://www.l3nr.org/posts/386486.ทฤษฎีการเรียนรู้.
          สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2558
Dr.Surin. [online]. http://surinx.blogspot.com/2010/08/2550-40-107-3-1-2-3-20-3-20-4-2550-45.html. ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2558.
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=2874.0;wap2. ทฤษฎีการเรียนรู้.
สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2558.